วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Product DBA6



Product
1.ประวัติความเป็นมา ความหมาย
2.องค์ประกอบ
3.การนำไปประยุกต์ใช้
4.ที่มา

สรุปจากผู้วิจัยโดย รินทร์ลภัส
ประวัติความหมายของผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ สามารถเป็นไปได้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งประกอบด้วยสินค้าที่จับต้องได้ การบริการ ประสบการณ์ บุคคล สถานที่ องค์กร ข้อมูล เป็นต้น
ประเภทของผลิตภัณฑ์ แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการซื้อของผู้ซื้อ สามารถ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
            กลุ่มที่ 1 ผลิตภัณฑ์บริโภค( Consummer product) หมายถึงสินค้า หรือบริการ ที่ซื้อโดยผู้บริโภคขั้นสุดท้าย (Final consumer)
            กลุ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(Industrial product) หมาย ถึง สินค้าหรือบริการที่บุคคล องค์การซื้อ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าอื่น หรือใช้ใน การประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมีเป้าหมายที่ตลาดอุตสาหกรรม ผู้ซื้อที่ ซื้อไปเพื่อการผลิตให้บริการหรือดำเนินงานของกิจการซึ่งส่วนใหญ่คือองค์
การหรือ ผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม



องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์






องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1.      ผลิตภัณฑ์หลัก (Core product) ประโยชน์พื้นฐานของผลิตภัณฑ์ที่บริโภคได้รับจากการซื้อสินค้าโดยตรง
2.      รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Formal/Features product)
3.      ผลิตภัณฑ์คาดหวัง (Expected product) เป็นสินค้าของคุณสมบัติและเงื่อนไขที่ผู้ซื้อคาดหวัง   โดยจะ คำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก
4.      ผลิตภัณฑ์ควบ (Augment product) ได้แก่ประโยนช์เพิ่มเติม หรือบริการที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่กับการซื้อสินค้าประกอบด้วยบริการก่อนและหลังการขาย
5.      ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ (Potential product) ได้แก่ คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ใหม่ทีมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า



ส่วนประสมผลิตภัณฑ์(Product Mix) หมายถึง กลุ่มหรือจำนวนของสายผลิตภัณฑ์และรายการผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ที่กิจกรรมมีเสนอขายแก่ผู้ซื้อ
          สายผลิตภัณฑ์ (Product line) หมายถึง กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน มีการใช้งานคล้ายกัน ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน
          รายการผลิตภัณฑ์ (Product item) หมายถึง เป็นผลิตภัณฑ์รายการใดรายการหนึ่งในยี่ห้อ หรือสายผลิตภัณฑ์ ต่างกันที่รูปแบบ ขนาด ราคา ฯ

ประเภทของผลิตภัณฑ์
1.      สินค้าอุปโภคบริโภค( Consumer Goods)
2.      สินค้าอุสาหกรรม ( Industrial Goods)

1) สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods) สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท
1.      สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods) : ซื้อน้อย ราคาต่ำ ซื้อบ่อยๆได้ มีลักษณะเด่น คือ
  สินค้าที่ผู้บริโภครู้จักดีอยู่แล้ว
  ใช้ความพยายามไม่มากในการหาซื้อ
  สามารถหาสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้
  ราคาไม่แพงและมีการซื้อบ่อย
  เป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไปหรือไม่คงทนถาวร
1.1.   สินค้าหลัก(Stable Goods) : เป็น สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือในครอบครัว ซื้อบ่อยแต่ซื้อครั้งละไม่มาก และใช้เงินไม่มากในการซื้อ เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน เป็นต้น
1.2.   สินค้าที่ซื้อฉับพลัน (Impulse Goods) : เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อโดยฉับพลัน ณ.ตอนนั้น หรือไก้รับการกระตุ้นจาก ส่วนประสมทางการตลาดต่างๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมการขาย (Sale promotion)
  โดยไม่ได้ตั้งใจ
  เกิดจากการระลึกได้
  เกิดจากการเสนอแนะ
  ที่กำหนดเงื่อนไขไว้
1.3.   สินค้าที่ซื้อในยามฉุกเฉิน(Emergency Goods) : สินค้า ซื้อฉุกเฉินเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้ทันที ไม่มีโอกาสเลือกซื้อ โดยไม่คำนึงถึงราคา และตราสินค้า แต่อาจคำนึงถึง ตัวสินค้าและบริการที่ต้องการใช้ ความสะดวกในการซื้อ/ความรวดเร็ว 


2.      สินค้าเปรียบเทียบซื้อ (Shopping Goods) สินค้าที่ผู้บริโภคมีการเปรียบเทียบก่อนซื้อ ในด้านราคา ตรา คุณสมบัติ รูปแบบ ฯลฯ มักจะมีลักษณะเด่น ดังนี้
อายุใช้งานนาน(ความถี่ในการซื้อน้อย)
ราคาต่อหน่วยสูง
  ใช้เวลาและความพยายามในการตัดสินใจซื้อสูง
  ผู้ซื้อเจาะจงตราสิค้าก่อนซื้อ
สินค้าเปรียบเทียบซื้อ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
2.1.   สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่เหมือนกัน(Homogeneous Shopping goods)
2.1.1.      สินค้ามีรูปแบบเดียวกัน คล้ายกัน หรือมาตรฐานเดียวกัน ในรูปทรง ขนาด คุณสมบัติ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1.2.      ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบคุณสมบัติ ต่างๆ เช่น รูปแบบ ขนาด อรรถประโยชน์ ถ้าเหมือนกันจะตัดสินใจที่ราคา
2.2.   สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่แตกต่างกัน(Heterogeneous Shopping goods)
2.2.1.      สินค้าที่มีคุณลักษณะต่างกันใน รูปแบบ สี คุณสมบัติ การใช้การรับประกัน สีสัน เสื้อผ้า รองเท้า
2.2.2.      ผู้บริโภคมักตัดสินใจที่ ความแตกต่างที่ไม่เหมือนกับสินค้ายี่ห้ออื่น เช่น รูปแบบ คุณสมบัติพิเศษ สมรรถนะของสินค้า



3.      สินค้าเจาะจงซื้อ( Specialty Goods) คือ
3.1.   สินค้าที่มีคุณสมบัติพเศษ ผู้บริโภคใช้ความพยายามมากและใช้เวลานานในการซื้อ
3.2.   ผู้บริโภคใช้เหตุผลในการซื้อ
3.3.   อายุการใช้งานนาน ราคาค่อนข้างสูง (สูงกว่าสินค้าเปรียบเทียบซื้อ)
3.4.   เป็นสินค้าที่มีซื่อเสียง มีมานาน คนส่วนใหญ่รู้จัก
3.5.   ผู้ซื้อเจาะจงตราก่อนซื้อ และตัดสินใจซื้อใว้ล่วงหน้า เช่น รถยนต์ บ้าน เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพง
4.      สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods) มีลักษณะเด่นดังนี้ คือ
  เป็นสินค้าที่มีมานาน หรือ เพิ่งออกสู่ตลาดใหม่ มีเทคโนโลยี่ใหม่ล้ำสมัย
  ผู้บริโภคอาจรู้จัก-ยังไม่รู้จัก/แต่ไม่มีความรู้ในตัวสินค้า/หรือ ไม่มีความจำเป็น จึงไม่ไช้ความพยายามในการหาซื้อ
  ราคาค่อนข้างสูง

สินค้าไม่แสวงซื้อแบ่ง ได้ 2 ประเภท คือ
4.1.   สินค้าเป็นที่รู้จัก แต่ยังไม่มีความต้องการซื้อ(Regularly unsought goods) เพราะว่าผู้บริโภค ไม่เห็นประโยชน์ เช่น ดาวเทียม ประกันชีวิต ปริญญาโทหรือ เอก
4.2.   สินค้าใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จัก (New product unsought goods) สินค้า ที่ผู้ผลิตเพิ่งนำออกสู่ตลาด มีความทันสมัย เทคโนโลยีใหม่ ราคาแพง ผู้บริโภคไม่รู้ว่า จะซื้อไปทำไม เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิทางหู


2) สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 วัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบ
วัตถุดิบ(Raw Material)
o   ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม
o   ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
วัสดุชิ้นส่วนประกอบในการผลิต
o   วัสดุประกอบ
o   ชิ้นส่วนประกอบ


 
กลุ่มที่ 2 สินค้าประเภททุน
  สิ่งที่ติดตั้ง(Installation)
o   สิ่งปลูกสร้างและอาคาร
o   อุปกรณ์ถาวร
  อุปกรณ์ประกอบ(Accessory Equipment)
o   อุปกรณ์เครื่องมืที่ใช้ในโรงงาน
o   อุปกรณ์ที่ใช้ในสำนักงาน
กลุ่มที่ 3 วัสดุสิ้นเปลืองและบริการ
  วัสดุสิ้นเปลือง(Supplies)
o   วัสดุบำรุงรักษาทำความสะอาด
o   วัสดุซ่อมแซม
o   วัสดุในการดำเนินงาน
  บริการ(Services)
o   บริการบำรุงรักษา
o   บริการซ่อมแซม
o   ให้คำแนะนำแกธุรกิจ


การประยุกต์ใช้


จากสรุปของผู้วิจัยของการนำมาประยุกต์ใช้ ของการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้ทฤษฎีระบบมาประยุกต์ใช้โดยการ Input เช่นการวิจัยทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด การวิเคราะห์ทางการขาย และอื่น ๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการของขั้นตอนเพื่อได้มาซึ่งความคิดใหม่ ซึ่งจะต้องมีการสกรีนในเบื้องต้น เพื่อที่จะได้มาซึ่ง concept ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ ต่อกลยุทธ์ทางการตลาด และ การศึกษาความเป็นไปได้ และมีการทดสอบของตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ก่อนที่จะมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ต้องมีการ Review ในตัวผลิตภัณฑ์
Output หลังจากผ่านกระบวนการข้างต้น จะได้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ผ่านการทดสอบ และจัดให้มีแบรนด์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมทั้งจัดการอบรมให้กับพนักงานเพื่อให้มีความรู้ต่อผลิตภัณฑ์ วางตัวในการตลาด ไปจนถึงคำนวณถึงผลกำไรของการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร



อ้างอิง






วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Systems Theory




Systems Theory Summary
Rhynlapas Nanthatheeraphat DAB06 SPU ID#57561089

ประวัติความเป็นมา ความหมาย
ทบทวนวรรณกรรม  ประวัติความเป็นมา ความหมาย ที่มา เข้าถึง วันที่ 26 ตุลาคม 2557
http://km.most.go.th/content/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A-system-theory
    ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Theory) เริ่มปรากฎขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1920 โดยผู้ที่เริ่มพูดถึงแนวคิดนี้เป็นคนแรก คือ Bertalanfy นักชีววิทยา ชาวออสเตรีย ต่อมาแนวคิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเมื่อทศวรรษ 1940 และ พัฒนาไปสู่สาขาอื่น ๆ เช่น ฟิสิกส์ Cybernetic (เช่นงานของ Frederic Vester) โดยในช่วงหลังแนวคิดนี้ได้พัฒนาไปเป็น Complexity Theory และบางส่วนก็พัฒนำปเป็นทฤษฎีไร้ระเบียบหรือ Chaos Theory นั่นเอง
ทฤษฎีนี้ได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษาทางสายสังคมศาสตรด้วยเช่นกัน อาทิ Claud Levin และทฤษฎีที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก System Theory ก็คือแนวพวก Radical Constructivism ที่เชื่อว่าโลกหรือการรับรู้ของเรานั้น เกิดจากสิ่งที่สมองของเราสร้างขึ้นทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ System Theory จึงมีลักษณะเป็นสหวิชาการ (Interdisciplinary) เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลาย ๆ สาขาวิชา โดยจุดสำคัญ ของ System Theory อยู่ที่การมองแบบไม่แยกส่วนหรือการมองว่าทุกอย่างสัมพันธ์กัน หรือส่วนย่อยสัมพัน์กันส่วนใหญ่ เป็นต้น
ดังนั้น วิธีคิดของ System Theory จึงต่างกับวิธีคิดแบบเส้นตรง (Linear thinking) หรือการคิดที่ว่า "ถ้าเหตุเป็นอย่างนี้แล้ว ผลจะต้องเป็นอย่างนั้น" อย่างสิ้นเชิง เพราะ System Theory จะเป็นการคิดบนพื้นฐานของระบบที่มีความซับซ้อน (Complex System) คือถ้าเป็นอย่างนี้ก็สามารถเป็น อย่างนั้นหรือเป็นอย่างโน้นได้ไม่ตายตัว (not only…but also…) คือมีความเป็นไปได้หลายอย่าง ๆ ฉะนั้น หัวใจของ System Theory จึงไม่ได้อยู่ที่ การวิเคราะห์วิจัยเฉพาะส่วนนั้น ๆ เท่านั้น แต่จะเป็นการพิจารณา "ความสัมพันธ์" ของปัจจัยสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดว่าสัมพันธ์กัน
เราจะพบว่าในทฤษฎีแบบเดิม ๆ เวลาเราจะวิเคราะห์สิ่งใด เรามักจะหยิบเฉพาะสิ่งนั้น ๆ ขึ้นมาแล้วนิยามหรือให้คุณสมบัติของสิ่งนั้นเป้นสำคัญ ซึ่งจะ แตกต่างจาก System Theory ที่จะมองไปที่ ความแตกต่าง และ ความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งนั้นกับสิ่งอื่น ๆ ไม่ได้มองเฉพาะสิ่ง ๆ นั้น เพียงสิ่งเดียว นอกจากนี้ System Theory ยังเน้นการตั้งคำถามกับวิธีคิดแบบเส้นตรงซึ่งเป็นการมองแบบภววิสัย (Objectivity) เพราะ System Theory เชื่อว่า การรับรู้ปรากฎการณ์ (Social phenomena) ทุกอย่างล้วนเป็น อัตวิสัย (Subjectivity) ที่ตัวตนของเราไปทำความเข้าใจและอธิบายมันด้วยทั้งสิ้น เป็นเสมือนการมองของสิ่งเดียวกันจากหลาย ๆ มุมมอง หรือตาบอดคลำช้าง ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นโรคหัวใจ แพทย์อาจวิเคราะห์ว่ามาจากสาเหตุของ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ แต่ถ้าให้สถาปนิกวิเคราะห์ ก็ได้คำตอบว่าอาจเป้นเพราะที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมก็ได้ หรือถ้าให้คนอื่น ๆ วิเคราะห์ คำตอบก็คงแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ดังนั้น คุณสมบัติของสิ่งหนึ่ง ๆ จึงไม่ได้เกิดจากคุณสมบัติของสิ่งหนึ่ง ๆ จึงไม่ได้เกิดจากคุณสมบัติของสิ่งนั้น ๆ เอง หากเกิดจากการที่สิ่งนั้น ๆ ไปสัมพัน์กับสิ่งอื่น เปรียบได้กับการที่เราจะเห็นภาพหนึ่ง ๆ ได้ ก็เป็นเพราะภาพนั้น ๆ มี Background นั่นเอง
ดังนั้น เราจึงอาจพูดได้ว่าความแตกต่างของสิ่งของ 2 สิ่ง คือ เส้นแบ่งที่ทำให้เราเห้นหรือรับรู้ถึงอีกสิ่งหนึ่งได้ เช่น เรารู้จักเวลากลางวันได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้จักเวลากลางคืน เรารู้สึกถึงความสุขได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้จักความทุกข์ เป็นต้น ด้วยเหตุดังนี้ การที่เราจะวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ จึงควรที่จะดูบริบท (Context) ของสิ่งนั้น ๆ ประกอบด้วย ดังที่ Niklas Luhmann นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ผู้เชี่ยวชาญ System Theory กล่าวว่า ระบบสังคมเกิด จากการที่มีการนิยามความหมายชุดหนึ่งเกิดขึ้นมาแล้วมีการสื่อสาร (Communicate) ระหว่างกัน และมีการลงมือปฏิบัติในทัศนะของกลุ่มคนผู้นิยามนั้น เช่น ในสังคมไทย ก็มีสังคม Internet เพราะในประเทศไทยก็มีคนจำนวนหนึ่งใช้ Internet ติดต่อสื่อสารกัน เป็นต้น
แต่ในปัจจุบัน ยุคโลกิวัฒน์ทำให้การสื่อสารมีมากขึ้น และโยงใยถึงกันทั่วทุกแห่ง ทำให้รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมอันเป็นระบบปิดได้เปิดออก เพราะทุกระบบ ส่งอิทธิพลถึงกัน ดังนั้น ระบบส่งอิทธิพลถึงกัน ดังนั้น ระบบต่าง ๆ จึงเป็นระบบเปิด ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในปัจจุบัน ก็ไม่สามารถ นิยามหรือแก้ไขแบบระบบได้อีกต่อไป เนื่องเพราะทุกอย่างสัมพัน์กัน ตัวอย่างเช่น น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ไม่ได้เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบเฉพาะพื้นที่นั้น เพียงพื้นที่เดียวเท่านั้น แต่ส่งผลโยงใยไปยังพื้นที่อื่น ๆ ด้วย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การแก้ปัญหาต่าง ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมออย่างรอบด้าน การอาศัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะส่วนนั้นจึงไม่เพียงพอ และจะต้องเข้าใจปัจจัยต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงถึงกันด้วย
ดังนั้น หากกล่าวโดยสรุปแล้ว System Theory จึงเป็นการมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แบบองค์รวม โดยเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบที่ใหญ่ขึ้นไป ขณะเดียวกันตัวมันเองก็เป็นระบบที่สามารถแยกย่อยลงไปเป็นระบบเล็ก ๆ มากมายหลายระดับได้ และระบบย่อยนี้ต่างก็มี ความสัมพันธ์กันได้ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของกันและกัน ดังตัวอย่างในแผนภูมิ System A จะประกอบไปด้วย System Element ต่าง ๆ เช่น System a1, System a2, … ที่สัมพันธ์กันและประกอบกันขึ้นเป็น System A และใน System (เช่น a1, a2, …) ก็จะประกอบไปด้วย sub-sub system ที่ประกอบขึ้นเป็น Sub-System a1 และใน Sub-sub System ก็สามารถแยกย่อยลงไปได้อีกเรื่อย ๆ จนถึง infinity ในขณะเดียวกัน ระบบ System A ก็จะต้องสัมพันธ์กับระบบที่ใหญ่กว่าขึ้นไป อาทิ จากระบบของปัจจเจกไปถึงระบบสังคมโลกและอื่น ๆ จนถึง infinity เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ System Theory จึงมีความหมายต่อระบบการจัดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาก เพราะในการมองนิยามและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หรือระบบย่อย กับระบบใหญ่เราก็จะไม่สามารแก้ไขปัญหาได้ หรือหาทางแก้ที่ระบบใหญ่โดยไม่เปลี่ยนระบบระบบย่อยก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จเช่นกัน นอกจากนี้ ในการเป็นผู้จัดการการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่ถ้าอยู่ในฐานะของผู้สังเกตการณ์กับกระแสต่าง ๆ ได้ และนิยามความเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้ก็สามารถ ส่งผลสะเทือนให้กับสังคมได้เช่นกัน
เมื่อนำ System Theory มาประยุกต์ใช้กับปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เราต้องนิยามปัญหานั้นก่อนว่าประกอบด้วยปัจจัย อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ปัจจัยประการแรก คือ มนุษย์ เพราะปัญหานั้นต้องสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างแน่นอน ปัจจัยประการต่อมา คือ การรับรู้ ดังนั้นเราจะต้องอาศัยการสื่อสารและเทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้ขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ไขปัญหา และเกี่ยวพันไปถึง ทรัพยากร (Resource) อาทิ เงินกับเวลา อีก
สรุปทฤษฎีระบบ เป็นโครงสร้างระบบของการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งเป็นระบบปิด (เป็นระบบที่มีตวามสมบูรณ์แบบในตัวของมันเอง)
ระบบเปิด(เป็นระบบที่ยังคงต้องการความสัมพันธ์กับภายนอก) เพื่อให้ได้มาซึ่งความคาดหวังขององค์กร
 
        ­­­­­­____________________________________________________________


 

องค์ประกอบหลัก และ การประยุกต์ใช้
 ทบทวนวรรณกรรม องค์ประกอบหลัก ที่มา เข้าถึง วันที่ 26 ตุลาคม 2557 :http://km.most.go.th/content/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A-system-theory
วิธีระบบ ( System Approach) 
ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความ สัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น
http://km.most.go.th/sites/default/files/users/user35/systemtheory.jpg
ระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ 
1. ข้อมูลวัตถุดิบ (Input )
2. กระบวนการ ( Process)
       3. ผลผลิต ( Output )
       4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
    องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ

1.      วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
2.      และสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
3.      ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบ
4.      ที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ
ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ 
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ 
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม 
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา 
     อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ 
         5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง 
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน 
องค์ประกอบของระบบ
 ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 
1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input )     หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น      ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร     ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม   อากาศ เป็นต้น
2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process)      หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ    เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output)     หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน     หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น 
4. ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)    การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back)    จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มี ประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องใน ส่วนต่าง ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธี ระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้า หมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ
ในองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ นั้นมี 3 ปัจจัย ที่มีผลต่อองค์ประกอบ เช่น  Machine, Person and  Environment ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการส่งผลต่อองค์ประกอบ
 ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
 1. ปัญหา (Identify Problem)
 2.
จุดมุ่งหมาย (Objectives)
3.
ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
4.
ทางเลือก (Alternatives)
5.
การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection)
6.
การทดลองปฏิบัติ (Implementation)
7.
การประเมินผล (Evaluation)
8.
การปรับปรุงแก้ไข (Modification)
  ระบบเปิด ( Open System ) 
     คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต   กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ ไป เช่น      ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ
   ระบบปิด ( Close System )     คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก   แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิดเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย   หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัว   ภายในก็มีระบบย่อยอีกหลายระบบ ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้     โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยภายนอกเข้ามาเลย ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด    เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น "ผู้ให้" เท่านั้น 

ที่มา:-