วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Chapter 12 : Decision Support and Implementation_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20

Chapter 12 : Decision Support and Implementation_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20
Chapter 12: Decision Support and Implementation

ความหมาย:

     กระบวนการคัดเลือกแนวทางปฏิบัติจากทางเลือกต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจ คือการนำเอาซอฟท์แวร์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เข้ามาในการเก็บข้อมูล

องค์ประกอบ:

     เป็นการแก้ไขปัญหาชัดเจนแน่นอน
1.  Brandaid เป็นโมเดลส่วนประสมการตลาด
2.  Detailer เป็นโมเดลที่ช่วยให้นักขาย สามารถกำหนดว่าควรติดต่อกับลูกค้ารายไหน
3.  Callplan เป็นโมเดลที่ช่วยให้นักขายกำหนดลูกค้าที่คาดหวังไว้
4.  Geoline เป็นโมเดลสำหรับการออกแบบอณาเขตการขายและการบริการ
5.  Mediac เป็นโมเดลช่วยนักโฆษณาวางแผน

ตัวชี้วัดของการตัดสินใจและการปฏิบัติการทางการตลาด

1.  การวิเคราะห์ถอดถอยพหุคู
2.  การวิเคราะห์จำแนกประเภท
3.  การวิเคราะห์ปัจจัย
4.  การวิเคราะห์จัดกลุ่ม
5.  การวิเคราะห์การประสานกัน
6.  การวัดนามามิติ

Chapter 11 : Strategy_BUS702 : To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20

Chapter 11 : Strategy_BUS702 : To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20
Chapter 11 : Strategy

ความหมาย:
     แนวทางการตลาดที่บริษัทใช้กำหนดทิศทาง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดของบริษัทนั้นๆ

องค์ประกอบ:
1. การวางแผน :    การวิเคราะห์สถานะการณ์
2. กระบวนการ
3. การควบคุม

ตัวชี้วัด:

Input: กลยุทธ์ด้านราคา
Process: รูปแบบการตั้งราคา (ราคากลาง) หรือตั้งราคาสำหรับตัวแทน เป็นต้น
Output: BSC

Chapter 10 : New Product Planning_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20

Chapter 10 : New Product Planning_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20
Chapter 10 : New Product Planning

ความหมาย:
     การวางแผนผลิตภัณพ์เป็นจุดเริ่มต้นอันสำคัญยิ่งในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นช่วงการพิจารณาว่าองค์กรควรเลือกพิจารณาอย่างไร

     ระยะและขั้นตอนการทำงานในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แบ่งเป็น 2 ระยะ
     ระยะที่ 1:Product Planning ---> Front-end
     ระยะที่ 2:Product Development ---> Back-end

องค์ประกอบ:
     ปัจจัยภายในต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ใหม่
     1.  กลยุทธ์
     2.  กระบวนการ
     3.  ลักษณะของบริษัท

ตัวชี้วัด:
     Success Criteria
     1.  สินค้าสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
     2.  สินค้าสอดคล้องกับจุดแข็งภายในองค์กร
     3.  เทคโนโลยีขั้นสูง
     4.  สนับสนุนโดยผู้บริหารระดับสูง

Chapter 9 : Distribution Channel_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20

Chapter 9 : Distribution Channel_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20
Chapter 9 :  Distribution Channel
ความหมาย:
              โครงสร้างของช่องทางที่ใช้เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้ซื้อขั้นสุดท้าย โดยอาจมีคนกลางทางการตลาด เช่น ร้านค้าส่ง ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่าย ผู้ประกอบการ คลังสินค้า และขนส่ง สถาบันการเงิน

องค์ประกอบ:
ช่องทางการจัดจำหน่าย
1.          Selling Directly to Consumers
2.          Selling Through Agents
3.          Selling Through Retailers
4.          Selling Through Wholesalers
หน้าที่หลักช่องทางการจัดจำหน่าย
1.          สินค้า
2.          สิทธิความเป็นเจ้าของ
3.          การชำระเงิน
ปัจจัยการเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย
1.          ด้านบริษัท
2.          ด้านผลิตภัณฑ์
3.          ด้านตลาด
4.          ด้านคนกลาง
การเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย
1.          เลือกช่องทางที่ต้นทุนที่ก่อประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะมีผลต่อยอดขาย และ กำไรของบริษัท

ตัวชี้วัด:

1                  บริษัทมีกำไรและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

Chapter 8 : Sales Force_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas

Chapter 8 : Sales Force_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20
Chapter 8 : Sales Force
องค์ประกอบ:
1.          กำหนดวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
2.          การออกแบกลยุทธ์ของหน่วยงานขาย
3.          การสรรหาและเลือกพนักงานขาย
4.          การฝึกอบรมพนักงานขาย
5.          การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานขาย

6.          การประเมินผลหลังการขาย

Chapter 7 : Promotion_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20

Chapter 7 : Promotion_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20
Chapter 7 : Promotion (การส่งเสริมการขาย)
ความหมาย:
กิจกรรมการส่งเสริมการตลาด ที่นอกเหนือจากการโฆษณา เพื่อกระตุ้นความสนใจเพื่อให้เกิดการทดลองใช้ โดยใช้ร่วมกับการโฆษณา พนักงานขาย ฯลฯ ร่วมด้วย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
องค์ประกอบ:
1.          การหากลุ่มเป้าหมาย
2.          ตั้งวัตถุประสงค์
3.          ตั้งงบประมาณ
4.          สร้างกลยุทธ์
5.          การนำไปใช้
6.          การประเมินผล
การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
1.          ผู้บริโภค
2.          ผู้ค้าปลีก
3.          หน่วยงานขาย

การประยุกต์ใช้:

Chapter 6 : Advertising_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20

Chapter 6 : Advertising_BUS702: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20
Chapter 6 : Advertising (โฆษณา)
ประวัติความเป็นมา:
              คือ กิจกรรมสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้น เพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายมีพฤติกรรมคล้อยตามเนื้อหา หรือสารของโฆษณาที่สื่อออกไป เพื่อให้เกิดการซื้อ/ใช้ สินค้าหรือบริการ โดยอาศัยจากเหตุผลจริง และเหตุผลสมมติผ่านทางสื่อโฆษณาที่ต้องรักษาเวลา และจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้สื่อนั้นๆ ที่สำคัญต้องมีการระบุบอกผู้โฆษณาอย่างชัดแจ้ง
องค์ประกอบ:
     1. ผู้โฆษณา
2          2. บริษัทตัวแทนโฆษณา
3          3. สื่อโฆษณา

4          4. ผู้บริโภค

Chapter 4 : Pricing_BUS02: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20

Chapter 4 : Pricing_BUS02: To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20
Chapter 4 : Pricing (ราคา)
ความหมาย:
คือองค์ประกอบหนึ่งใน Marketing Mix ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ให้กับธุรกิจ มูลค่าของสินค้า และบริการในรูปของตัวเงิน หรือ เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อต้องจ่ายสำหรับการได้มาของบางสิ่ง
องค์ประกอบ:
1.          กำหนดราคา เพื่อยึดค่าที่ธุรกิจสร้าง
1.1 เหมาะกับธุรกิจ ที่ผลิตสินค้าทั่วๆ ไป สินค้าไม่ค่อยแตกต่างกัน
1.2 การกำหนดราคาจากฐานค่าของสินนค้า
2.          กำหนดราคา เชิงซ้อน
2.1 การกำหนดราคา แตกต่างตามปริมาณที่ซื้อ
2.2 การกำหนดราคา แยกตามประเภทผู้ซื้อ
2.3 การกำหนดราคา ตามค่าของสินค้าเฉพาะบุคคล
2.4 การกำหนดราคา ตามเวลาการใช้ เช่น ธุรกิจโรงแรมช่วง High Season
2.5 การกำหนดราคา        แบบบุฟเฟ่ต์ เป็นการตั้งราคาคงที่ จะวัดได้จากการที่มีผู้บริโภคมาใช้มากหรือน้อย ต้องขึ้นอยู่กับโครงสร้างของต้นทุนด้วยเช่นกัน
2.6 การกำหนดราคา แบบสองส่วน ผู้ประกอบการไม่สามารถทราบราคาในแต่ละส่วนได้อย่างไร
2.7 การกำหนดราคา แบบเป็นชุด
การตั้งราคาประกอบด้วย องค์ประกอบดังนี้
1.          ต้นทุน เช่น ต้นทุนแรงงาน ค่าโสหุ้ย
2.          กำไร
3.          ความต้องการของตลาด ในการกำหนดราคา มักจะขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด
4.          คู่แข่ง ราคาสินค้าของคู่แข่งมักจะมีผลต่อการซื้อสินค้าค่อนข้างมาก
คุณค่าที่รับรู้ในสายตาผู้บริโภค ความรู้สึกของผู้บริโภคจะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ

Chapter 3 : Organizational buying models_BUS702 : To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20

Chapter 3 : Organizational buying models_BUS702 : To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20
Chapter 3 : Organizational buying models พฤติกรรมการจัดซื้อองค์กร
ต้นกำเนิด:
ทฤษฎีต้นกำเนิดเกิดขึ้นในปี 1972 และ 1973
Webster – wind Model : มีปัจจัยสิ่งแวดล้อม องค์การ และศูนย์การซื้อ
Model ตัวที่สมบูรณ์แบบ คือ Sheth Model
ความหมาย:      
ตลาดองค์การ หมายถึง กลุ่มบุคคลและ/หรือ องค์การที่ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิต การอุตสาหกรรม การให้บริการ
พฤติกรรมการซื้อของตลาดองค์การแบ่งเป็นสองตลาด 3 ตลาด
1.          ตลาดอุตสาหกกรมหรือตลาดผู้ผลิต
2.          ตลาดคนกลางหรือตลาดผู้ขายต่อ
3.          ตลาดรัฐบาล
องค์ประกอบ:
1.          ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น คู่แข่งขัน
2.          ปัจจัยด้านองค์กร หรือองค์การ เป็นปัจจัยหลัก มีอิทธิพลการซื้อขององค์การ ต้องคำนึงวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นสำคัญ
3.          ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
4.          ปัจจัยส่วนบุคคล คือ คุณลักษณะของบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อ
              ผู้จัดซื้อจะมาโดยความถูกต้องขององค์การเป็นหลักสำคัญ
1.          ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
2.          คุณลักษณะของขั้นตอนการตัดสินใจ จะต้องอ้างอิงไปยังสถานการณ์การซื้อด้วย
3.          ปัจจัยของสถานะการณ์

Chapter 2 : Consumer Behavior_BUS702 : To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20

Chapter 2 : Consumer Behavior_BUS702 : To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20
Chapter 2 : ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior)

1. ประวัติความเป็นมา และความหมาย
ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค (Customer Behavior) (วันดี รัตนกาย, 2554)
ผู้บริโภค (Consumer) หรือผู้บริโภคคนสุดท้าย (Ultimate Consumer) หมายถึง กลุ่มบุคคลหรือครัวเรือน ซึ่งซื้อหรือต้องการสินค้าหรือบริการเพื่อการบริโภคส่วนตัว
พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) หมายถึงพฤติกรรมการตัดสินใจและการกระทำของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการซื้อและใช้บริการสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของเขา
การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นการศึกษาพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อให้ได้รับความพอใจสูงสุดจากงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด

2. องค์ประกอบ
7 คำถาม (6Ws และ 1H) คำตอบที่ต้องการทราบ (7Os) กลยุทธ์การตลาดที่เกี่ยวข้อง
1. ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย (Who is in the target market?) (Tatlilioglu, 2014) มีใครบ้างที่อยู่ในตลาดเป้าหมาย (Occupant) เพื่อทราบถึงส่วนประกอบและรายละเอียด กลุ่มเป้าหมายทางด้าน
1.1 ประชากรศาสตร์
1.2 ภูมิศาสตร์
1.3 จิตวิทยาหรือจิตวิเคราะห์
1.4 พฤติกรรมศาสตร์กลยุทธ์การตลาด (4Ps) ประกอบด้วยกลยุทธ์ด้าน ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาด ที่เหมาะสมและการตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย
2. ผู้บริโภคซื้ออะไร (What does the consumer buy?) สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ (Object) สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจากผลิตภัณฑ์ก็คือ ต้องการคุณสมบัติหรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (Product component) และความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน (Competitive differentiation)
กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product strategy) ประกอบด้วย
- ผลิตภัณฑ์หลัก
- รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์
- ผลิตภัณฑ์ควบ
- ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง
- ศักยภาพผลิตภัณฑ์ ความแตกต่างทางการแข่งขัน (Competitive differentiation)
3. ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อ (Why does the consumer buy?) วัตถุประสงค์ในการซื้อ (Objective) ผู้บริโภคซื้อสินค้าเพื่อสนองความต้องการด้านร่างกาย และจิตวิทยา ซึ่งต้องศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อคือ
(1) ปัจจัยภายใน หรือปัจจัยทางจิตวิทยา
(2) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
(3) ปัจจัยเฉพาะบุคคล
4. ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ  (Who participates in the buying decision?) บทบาทของกลุ่มต่างๆ (Organization) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ประกอบด้วย ผู้ริเริ่ม ผู้มีอิทธิผล ผู้ตัดสินใจซื้อและผู้ใช้
5. ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด  (When does the consumer buy?)  โอกาสในการซื้อ (Occasion) เช่น ช่วงเดือนใดของปี ช่วงเวลาใดขของวัน โอกาสพิเศษหรือเทศกาลวันสำคัญต่างๆ
6. ผู้บริโภคซื้อที่ไหน (Where does the consumer buy?) ช่องทางหรือสถานที่ที่ทำการซื้อ (Outlet) ที่ผู้บริโภคทำการซื้อ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายของชำ
7. ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How does the market buy?) ขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อ (Operation) ประกอบด้วย (1) การรับรู้ปัญหา  (2) การค้นหาข้อมูล  (3) การประเมินผลทางเลือก (4) การตัดสินใจซื้อ (5) ความรู้สึกภายหลังการซื้อ

แบบจำลองพฤติกรรมการซื้อ



ภาพ 1: แบบจำลองพฤติกรรมการซื้อของฟิลิป ค็อตเลอร์
ที่มา: จาก Marketing Management, Millenium Edition (p.88), (Kotler, 2000). Custom Edition for
University of Phoenix

                จากภาพ 1 ข้างต้นเป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค โดยมีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้
สิ่งกระตุ้นทางการตลาด
เป็นกลุ่มเครื่องมือการตลาด ซึ่งธุรกิจใช้ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด หรือที่เรียกว่า ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix หรือ 4P’s (Pour et al., 2012) โดยนำองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสินค้าและบริการ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านการจัดจำหน่าย (Place) และด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เราเลือกไว้ให้มากที่สุด และถูกนำไปขยายจนกลายเป็นกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทำให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอยู่รอดเป็นหลัก

สิ่งกระตุ้นด้านอื่น
1. เศรษฐกิจ
2. เทคโนโลยี
3. การเมือง
4. สังคมและวัฒนธรรม

บุคลิกลักษณะของผู้ซื้อ
                 หน้าที่หลักของนักการตลาดคือพยายามศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าภายนอก ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในท้ายที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย
1.  ปัจจัยด้านวัฒนธรรม เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สุดในการกำหนดความต้องการและพฤติกรรมของ มนุษย์ เช่น การศึกษา ความเชื่อ ยังรวมถึงพฤติกรรมส่วนใหญ่ที่ได้รับการยอมรับภายในสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมประกอบไปด้วย วัฒนธรรม วัฒนธรรมย่อย และระดับชั้นในสังคม
2.    ปัจจัยทางสังคม เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ ซึ่ง ประกอบด้วยกลุ่มอ้างอิง ครอบครัว บทบาท และสถานะของผู้ซื้อ
3.    ปัจจัยส่วนบุคคล การตัดสินใจของผู้ซื้อมักได้รับอิทธิพลจากคุณสมบัติส่วนบุคคลต่าง ๆ เช่น อายุ อาชีพ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ การศึกษา รูปแบบการดำเนินชีวิต วัฏจักรชีวิตครอบครัว
4.       ปัจจัยทางจิตวิทยา การเลือกซื้อของบุคคลได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งจัดปัจจัยในตัว ผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อและใช้สินค้า ปัจจัยทางจิตวิทยาประกอบด้วยการจูงใจ การรับรู้ ความเชื่อและเจตคติ บุคลิกภาพและแนวความคิดของตนเอง
นักจิตวิทยามาสโลว์ (Abraham Maslow)ได้กำหนดทฤษฏีลำดับขั้นตอนของความต้องการซึ่งกำหนดความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ไว้ 5 ระดับ ซึ่งจัดลำดับจากความต้องการระดับต่ำไปยังระดับสูงคือ
1. ความสำเร็จส่วนตัว
2. ความต้องการด้านอีโก้ (ความภาคภูมิใจ สถานะ ความเคารพ)
3. ความต้องการด้านสังคม
4. ความปลอดภัยและมั่นคง
5. ความต้องการของร่ายกาย

กระบวนการตัดสินใจของผู้ซื้อ
ในกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Five-Stage Model of The Customer Buying Process) (Orji and Goodhope, 2013) เมื่อทราบถึงพฤติกรรมในการซื้อของผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อพฤตกรรมการซื้อแล้ว ซึ่งการศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโดยทั่วไปจะผ่านกระบวนการ 5 ขั้นตอน ดังนี้คือ
1. การรับรู้ถึงความต้องการ (Need Recognition) หรือการรับรู้ปัญหา (Problem Recognition) การที่บุคคลใดรับรู้ถึงความต้องการของตนที่อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวบุคคล เช่น ความหิวกระหาย บุคคลจะเรียนรู้ถึงวิธีการที่จะจัดการเพื่อสนองตอบกับสิ่งเร้านั้นๆ
2. การค้นหาข้อมูล (Information Search) ถ้าความต้องการถูกกระตุ้นมากพอ ผู้บริโภคจะดำเนินการกับสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดเพื่อให้เกิดความพอใจทันที เมื่อผู้บริโภครับรู้ปัญหา คือ เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ในขั้นที่หนึ่งแล้วในขั้นตอนนี้จะเป็นการค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
2.1 แหล่งบุคคล ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน เพื่อนบ้าน คนรู้จัก เป็นต้น
2.2 แหล่งการค้า ได้แก่ สื่อโฆษณา พนักงานขาย ตัวแทนการค้า ฯลฯ
2.3 แหล่งชุมชน ได้แก่ สื่อมวลชน หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค
2.4 แหล่งทดลอง ได้แก่ หน่วยงานที่สำรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือ งานวิจัยต่างๆ
3. การประเมินผลทางเลือก (Evaluation of alternative) เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ผู้บริโภคจะเกิดความเข้าใจและประเมินผลทางเลือกต่างๆ
4. การตัดสินใจซื้อ (Purchase Decision) จากการประเมินผลทางเลือก จะช่วยให้ผู้บริโภคกำหนดความพอใจระหว่างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นทางเลือก โดยจะเลือกสิ่งที่ชอบมากที่สุด และปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการประเมินผลพฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อ 3 ประการ คือ
4.1 ทัศนคติของบุคคลอื่น ทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้องจะมีผลทั้งทางด้านบวกและลบต่อการตัดสินใจซื้อ
4.2 ปัจจัยสถานการณ์ที่คาดคะเนไว้ก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น คาดคะเนถึงคุณภาพและประโยช์ของผลิตภัณฑ์
4.3 ปัจจัยสถานการณ์ที่ไม่ได้คาดคะเนไว้ ขณะที่ผู้บริโภคกำลังจะตัดสินใจ อาจมีสถานการณ์ที่ไม่ได้ คาดคะเนเกิดขึ้นซึ่งกระทบต่อผลการตัดสินใจ
5. พฤติกรรมภายหลังการซื้อ (Postpurchase Behavior) เป็นกระบวนการหลังการซื้อและทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคจะตระหนักได้ถึงความพอใจหรือไม่พอใจในตัว ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ภายหลังมีการซื้อผลิตภัณฑ์ไปใช้ แล้วความรู้สึกนี้เกิดขึ้นกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และความคาดหวังของผู้บริโภค ถ้าพอใจก็จะซื้อซ้ำ แต่ถ้าไม่พอใจก็จะไม่ซื้ออีก นักการตลาดจะต้องพยายามทราบถึงระดับความพอใจของผู้บริโภคภายหลังการซื้อ

3. วิธีการวัด
การตัดสินใจของผู้ซื้อ
               เป็นขั้นตอนของการตอบสนองจากสิ่งกระตุ้นทั้งภายในและภายนอก และผ่านกระบวนการการพิจารณาการซื้อ โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด สุดท้ายเป็นการเลือกสินค้าและผลิตภัณฑ์ตามจุดประสงค์ของผู้บริโภคนั่นเอง
1. การเลือกผลิตภัณฑ์
2. การเลือกตราสินค้า
3. การเลือกผู้จัดจำหน่าย
4. เวลาที่ซื้อ
5. ปริมาณที่ซื้อ

การสร้างความสัมพันธ์และการเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด และเมื่อผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจ จะก่อให้เกิดการซื้อซ้ำ การบอกกล่าวปากต่อปาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองในฐานะของนักการตลาด และรวมถึงธุรกิจจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเพื่อการเจริญเติบโตอย่างมั่งคั่งและยั่งยืนสืบไป

เอกสารอ้างอิง
KOTLER, P. 2000. Marketing Management, Millenium Edition, PEARSON CUSTOM PUBLISHING.
ORJI & GOODHOPE, O. 2013. MAJOR CLASSIC CONSUMER BUYING BEHAVIOUR MODELS: IMPLICATIONS FOR MARKETING DECISION-MAKING Journal of Economics and Sustainable Development, 4, 10-n/a.
POUR, B. S., NAZARI2, K. & EMAMI, M. 2012. THE EFFECT OF MARKETING MIX IN ATTRACTING CUSTOMER: CASE STUDY OF SADERAT BANK IN KERMANSHAH PROVINCE 7(34).
TATLILIOGLU, K. 2014. A RESEARCH TOWARDS TO THE DETERMINATION THE FACTORS EFFECTING THE CONSUMER BEHAVIOUR AND TRENDS (THE SAMPLE OF BINGOL UNIVERSITY). International Journal of Academic Research, 6, 150-156.
วันดี รัตนกาย. 2554. พฤติกรรมการซื้อสินค้าในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุค_กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Chapter 1 : Marketing Theory_BUS702 : To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20 Chapter 1 : BUS702

Chapter 1 : Marketing Theory_BUS702 : To present Dr.Vichit U-on. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_No.20 Chapter 1 : BUS702

1.      แนวคิดทฤษฎีทางการตลาด Marketing Theory
ความหมาย : การตลาดคือ ขบวนการวางแผน เพื่อตอบสนองต่อความพึงพอใจ
4P + 3P
Philip Kotler : การส่งมอบคุณภาพ บริการและคุณค่าไปสู่ลูกค้า
หน้าที่ของนักการตลาด จึงหมายถึง ต้องเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง เพื่อนำมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายได้อย่างถูกที่ถูกเวลา
จุดมุ่งหมายทางการตลาด เพิ่มผลกำไร
Core Marketing Concept :
1.          แนวคิดการผลิต เก่าแก่ที่สุด
2.          แนวคิดผลิตภัณฑ์
3.          แนวคิดการขาย (The Selling Concept)
4.          แนวคิดมุ่งตลาด (The Marketing Concept)
5.          แนวคิดทางด้านลูกค้า (The Customer Concept)
6.          แนวคิดทางการตลาดเพื่อสังคม (The Societal marketing concept)

องค์ประกอบที่สำคัญ
7P People, Process, Physical Evidence
Marketing 2.0 – เปลี่ยนจาก P เป็น C

ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) – 4P
1.          Product ผลิตภัณฑ์
2.          Price
3.          Place ช่องทางการจัดจำหน่าย
4.          Promotion


ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) – 7P ------ เน้นในเรื่องสินค้าและบริการ
IMC การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
ทฤษฎีการตลาดยุคใหม่ มีอยู่ 3 Generation
1.          1.0 เน้นการขายสินค้า ขายความเป็น Mass ลืมมองถึงความจำเป็น
2.          2.0 ยุคที่ผู้บริโภคมีองค์ความรู้มากขึ้น การเข้าหาแหล่งข้อมูลมากขึ้น ยุคนี้จะมุ่งเอาใจผู้บริโภคที่มีความรอบรู้ เป็นลักษณะของ Knowledge
3.          3.0 ยุคที่พลิกจากการตลาดยุคแรกๆ เน้นที่เรื่องของอารมณ์ คนคำนึงถึงสิ่งรอบข้าง สิ่งแวดล้อม สังคม จิตวิญญาณ จะเห็นว่ามีความใกล้ชิดกับตัวของ Brand นั้นมากขึ้น

กลยุทธ์ SCP
จาก Product กลายเป็น Customer Solutions
1.          Customer needs
2.          Customer Wants
3.          Customer Demand

Marketing 3.0 – Brand Identity, Brand Image and Brand Integrity

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Chapter 5 : Product_Submit to Dr.Vichit. By Rhynlapas Nanthatheeraphat_ No.20_D.B.A.06SPU

รินทร์ลภัส นันทธีรพัฒน์
BUS 702…Marketing
DBA ID#57561089

ผลิตภัณฑ์ (Product)
1.ประวัติความเป็นมา ความหมาย (Definition)
2.องค์ประกอบ (Component)
3.การประเมินและวัดผล (Output Measurable-VBM)
4.การนำไปประยุกต์ใช้ (Using of Theory)
5.แหล่งที่มา (Reference)
ความสำคัญของผลิตภัณฑ์
          ผลิตภัณฑ์ของกิจการใด ๆ เป็นที่มาของรายได้ให้กับกิจการนั้น ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจ / กิจการจะไม่สามารถอยู่รอดได้  ถ้าผลิตภัณฑ์ที่ขาย / นำเสนอสู่ตลาดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคดังนั้น    ก่อนสำเสนอผลิตภัณฑ์สู่ตลาดธุรกิจ / กิจการควรที่จะได้สำรวจให้ทราบถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องการให้ได้เสียก่อน   ถ้าหากธุรกิจ / กิจการใดนำเสนอผลิตภัณฑ์เป็นเจ้าแรก ธุรกิจ / กิจการนั้น ๆ ก็มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำตลาดได้     นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดียังทำให้ธุรกิจ / กิจการนั้น ๆ มีภาพลักษณ์ ที่ดีในสายตาของผู้บริโภคอีกด้วย
          เมื่อพิจารณาโดยรอบจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ดีมีประโยชน์และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคจะช่วยยกมาตรฐานการครองชีพแก่ผู้บริโภคได้       และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอของธุรกิจจะช่วยให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคและนำความเจริญสู่เศรษฐกิจ

ความหมายของผลิตภัณฑ์
          ดร.ฟิลิปป์ คอตเลอร์ (Kotler, 2000 p. 394) ปรมาจารย์ทางการตลาด   ให้ความหมายของผลิตภัณฑ์ว่า "ผลิตภัณฑ์       หมายถึงอะไรก็ได้ที่สามารถนำเสนอขายสู่ตลาด       เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเมื่อศึกษาแนวคิดทางการตลาด    พบว่า   การตอบสนองความต้องการผู้บริโภค   หมายรวมทั้งความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้านกายภาพ  (ตัวผลิตภัณฑ์)        จิตวิทยา  (ความเชื่อมั่นภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ) และสังคมวิทยา (การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ฯลฯ) ที่ผู้บริโภคได้รับหลังการบริโภคผลิตภัณฑ์

          ดังนั้น   ความหมายที่แท้จริงของคำว่า   ผลิตภัณฑ์  จึงหมายถึง  สิ่งที่ผู้ซื้อได้รับไม่ใช่สิ่งที่ผู้ขายได้ขายไปหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า    ผลิตภัณฑ์    หมายรวมถึง   สิ่งที่จับต้องได้ (ตัวผลิตภัณฑ์)    บริการ    ประสบการณ์ เหตุการณ์   บุคคล    สถานที่   องค์กร    ข้อมูล    และแนวความคิด (Kotler, 2000 p. 394)

ประเภทของผลิตภัณฑ์ แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการซื้อของผู้ซื้อ สามารถ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
            กลุ่มที่ 1 ผลิตภัณฑ์บริโภค( Consumers product) หมายถึงสินค้า หรือบริการ ที่ซื้อโดยผู้บริโภคขั้นสุดท้าย (Final consumer)
            กลุ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(Industrial product) หมาย ถึง สินค้าหรือบริการที่บุคคล องค์การซื้อ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าอื่น หรือใช้ใน การประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมีเป้าหมายที่ตลาดอุตสาหกรรม ผู้ซื้อที่ ซื้อไปเพื่อการผลิตให้บริการหรือดำเนินงานของกิจการซึ่งส่วนใหญ่คือองค์
การหรือ ผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม
องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์




องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1.      ผลิตภัณฑ์หลัก (Core product) ประโยชน์พื้นฐานของผลิตภัณฑ์ที่บริโภคได้รับจากการซื้อสินค้าโดยตรง
2.      รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Formal/Features product)
3.      ผลิตภัณฑ์คาดหวัง (Expected product) เป็นสินค้าของคุณสมบัติและเงื่อนไขที่ผู้ซื้อคาดหวัง   โดยจะ คำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก
4.      ผลิตภัณฑ์ควบ (Augment product) ได้แก่ประโยนช์เพิ่มเติม หรือบริการที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่กับการซื้อสินค้าประกอบด้วยบริการก่อนและหลังการขาย
5.    ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ (Potential product) ได้แก่ คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ใหม่ทีมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า (Baolong et al., 2014)

ส่วนประสมผลิตภัณฑ์(Product Mix) หมายถึง กลุ่มหรือจำนวนของสายผลิตภัณฑ์และรายการผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ที่กิจกรรมมีเสนอขายแก่ผู้ซื้อ
                สายผลิตภัณฑ์ (Product line) หมายถึง กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน มีการใช้งานคล้ายกัน ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน
                รายการผลิตภัณฑ์ (Product item) หมายถึง เป็นผลิตภัณฑ์รายการใดรายการหนึ่งในยี่ห้อ หรือสายผลิตภัณฑ์ ต่างกันที่รูปแบบ ขนาด ราคา ฯ

ประเภทของผลิตภัณฑ์
1.      สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods)
2.      สินค้าอุสาหกรรม (Industrial Goods)

1) สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท
1.      สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods): ซื้อน้อย ราคาต่ำ ซื้อบ่อยๆได้ มีลักษณะเด่น คือ
1.1.   สินค้าหลัก (Stable Goods): เป็น สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือในครอบครัว ซื้อบ่อยแต่ซื้อครั้งละไม่มาก และใช้เงินไม่มากในการซื้อ เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน เป็นต้น
1.2.   สินค้าที่ซื้อฉับพลัน (Impulse Goods): เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อโดยฉับพลัน ณ.ตอนนั้น หรือไก้รับการกระตุ้นจาก ส่วนประสมทางการตลาดต่างๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมการขาย (Sale promotion)
1.3.   สินค้าที่ซื้อในยามฉุกเฉิน (Emergency Goods): สินค้า ซื้อฉุกเฉินเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้ทันที ไม่มีโอกาสเลือกซื้อ โดยไม่คำนึงถึงราคา และตราสินค้า แต่อาจคำนึงถึง ตัวสินค้าและบริการที่ต้องการใช้ ความสะดวกในการซื้อ/ความรวดเร็ว 




2.      สินค้าเปรียบเทียบซื้อ (Shopping Goods) สินค้าที่ผู้บริโภคมีการเปรียบเทียบก่อนซื้อ ในด้านราคา ตรา คุณสมบัติ รูปแบบ ฯลฯ มักจะมีลักษณะเด่น ดังนี้
สินค้าเปรียบเทียบซื้อ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
2.1.   สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่เหมือนกัน (Homogeneous Shopping goods)
2.1.1.      สินค้ามีรูปแบบเดียวกัน คล้ายกัน หรือมาตรฐานเดียวกัน ในรูปทรง ขนาด คุณสมบัติ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1.2.      ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบคุณสมบัติ ต่างๆ เช่น รูปแบบ ขนาด อรรถประโยชน์ ถ้าเหมือนกันจะตัดสินใจที่ราคา
2.2.   สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่แตกต่างกัน (Heterogeneous Shopping goods)
2.2.1.      สินค้าที่มีคุณลักษณะต่างกันใน รูปแบบ สี คุณสมบัติ การใช้การรับประกัน สีสัน เสื้อผ้า รองเท้า
2.2.2.      ผู้บริโภคมักตัดสินใจที่ ความแตกต่างที่ไม่เหมือนกับสินค้ายี่ห้ออื่น เช่น รูปแบบ คุณสมบัติพิเศษ สมรรถนะของสินค้า

3.      สินค้าเจาะจงซื้อ (Specialty Goods) คือ
3.1.   สินค้าที่มีคุณสมบัติพเศษ ผู้บริโภคใช้ความพยายามมากและใช้เวลานานในการซื้อ
3.2.   ผู้บริโภคใช้เหตุผลในการซื้อ
3.3.   อายุการใช้งานนาน ราคาค่อนข้างสูง (สูงกว่าสินค้าเปรียบเทียบซื้อ)
3.4.   เป็นสินค้าที่มีซื่อเสียง มีมานาน คนส่วนใหญ่รู้จัก
3.5.   ผู้ซื้อเจาะจงตราก่อนซื้อ และตัดสินใจซื้อใว้ล่วงหน้า เช่น รถยนต์ บ้าน เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพง
4.      สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods) มีลักษณะเด่นดังนี้ คือ
สินค้าไม่แสวงซื้อแบ่ง ได้ 2 ประเภท คือ
4.1.   สินค้าเป็นที่รู้จัก แต่ยังไม่มีความต้องการซื้อ (Regularly unsought goods) เพราะว่าผู้บริโภค ไม่เห็นประโยชน์ เช่น ดาวเทียม ประกันชีวิต ปริญญาโทหรือ เอก
4.2.   สินค้าใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จัก (New product unsought goods) สินค้า ที่ผู้ผลิตเพิ่งนำออกสู่ตลาด มีความทันสมัย เทคโนโลยีใหม่ ราคาแพง ผู้บริโภคไม่รู้ว่า จะซื้อไปทำไม เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิทางหู(Zhenfeng et al., 2014) (Olsen et al., 2014) (Giachetti and Dagnino, 2014)

การประเมินและวัดผล (Output Measurable-VBM)
การนำ VBM (Value Based Management) ปัจจัยที่จะนำมาวัดผลการดำเนินงานของกิจการประกอบด้วย
TWC, DPO, DSO, ROI and the most important thing is Cash Flow.
แนวทางการบริหารจัดการ ใหม่สำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพ ขององค์กร : การบริหารจัดการ คุณภาพโดยรวมองค์กร แบน เพิ่มขีดความสามารถ ในการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง การปรับรื้อ ,ไคเซ็น , การสร้างทีมงาน และอื่น ๆ หลายคนได้ ประสบความสำเร็จ - แต่ค่อนข้างน้อย มีความล้มเหลว มักจะเกิด ความล้มเหลวเป็น เป้าหมาย ผลการปฏิบัติงานที่มีความ ชัดเจนหรือ ไม่ได้ อย่างถูกต้องสอดคล้อง กับเป้าหมาย สูงสุดของการสร้าง
มูลค่า การจัดการ มูลค่า ตาม ( VBM ) ให้ความแม่นยำและ ชัดเจน เมตริก - ค่า - ซึ่งทั้งหมดองค์กร สามารถสร้าง
คิดที่อยู่เบื้องหลัง VBM เป็นเรื่องง่าย มูลค่าของ บริษัทจะถูกกำหนดโดยลด ของ กระแสเงินสดในอนาคต ราคา จะถูกสร้างขึ้น เฉพาะเมื่อ บริษัท ลงทุนทุน ที่ ให้ผลตอบแทน ที่ สูงกว่า ต้นทุนของเงินทุน ที่ VBM ขยาย เหล่านี้
แนวคิด โดยเน้น วิธีการที่ บริษัท ใช้พวกเขา ที่จะทำให้ ทั้งสอง ที่สำคัญ เชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจ ในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน ดำเนินการ อย่างถูกต้องก็ เป็น วิธีการ ที่จะการจัดการ ที่สอดคล้องแรงบันดาลใจ โดยรวมของ บริษัท เทคนิค การวิเคราะห์และ กระบวนการบริหารจัดการ ที่จะมุ่งเน้น การตัดสินใจ ใน การบริหารจัดการไดรเวอร์ที่สำคัญ ของมูลค่าหลักการ


การประยุกต์ใช้(Using Theory)


จากสรุปของผู้วิจัยของการนำมาประยุกต์ใช้ ของการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้ทฤษฎีระบบมาประยุกต์ใช้โดยการ Input เช่นการวิจัยทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด การวิเคราะห์ทางการขาย และอื่น ๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการของขั้นตอนเพื่อได้มาซึ่งความคิดใหม่ ซึ่งจะต้องมีการสกรีนในเบื้องต้น เพื่อที่จะได้มาซึ่ง concept ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ ต่อกลยุทธ์ทางการตลาดและกลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์(Lee et al., 2014) และ การศึกษาความเป็นไปได้ และมีการทดสอบของตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ก่อนที่จะมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่(Ozler, 2011) ทั้งนี้ต้องมีการ Review ในตัวผลิตภัณฑ์(มานะ อินพรมมี, 2555)
ซึงในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ OTOP (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์) เป็นการทำวิจัยซึ่งได้รับความสนใจทางการตลาดเป็นอย่างมาก(กิตติคุณ บุญเกตุ, 2556) (ณัฐนันท์ หอมวิเศษวงศา, 2555) (ณัฐนันท์ หอมวิเศษวงศา, 2555) (วลีรักษ์ สิทธิสม, 2553) (อรรถสิทธ์ ทองทั่ว, 2552)
Output หลังจากผ่านกระบวนการข้างต้น จะได้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ผ่านการทดสอบ และจัดให้มีแบรนด์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ(Noguti and Russell, 2014)
 พร้อมทั้งจัดการอบรมให้กับพนักงานเพื่อให้มีความรู้ต่อผลิตภัณฑ์ วางตัวในการตลาด ไปจนถึงคำนวณถึงผลกำไรของการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร

อ้างอิง (Reference)
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ของผู้บริโภคในจังหวัดบุรีรัมย์
กิตติคุณ บุญเกตุ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์)
คณะสถิติประยุกต์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
2556. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ณัฐนันท์ หอมวิเศษวงศา. 2555.  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
มานะ อินพรมมี 2555. การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝาก
ผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์
The Design and Development of Souvenir Product of
Community Products, Phetchabun Province.

วลีรักษ์ สิทธิสม. 2553.  OTOP ในจังหวัดนนทบุรี. สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อรรถสิทธ์ ทองทั่ว. 2552.  มหาวิทยาลัยบูรพา.