วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Product DBA6



Product
1.ประวัติความเป็นมา ความหมาย
2.องค์ประกอบ
3.การนำไปประยุกต์ใช้
4.ที่มา

สรุปจากผู้วิจัยโดย รินทร์ลภัส
ประวัติความหมายของผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ สามารถเป็นไปได้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งประกอบด้วยสินค้าที่จับต้องได้ การบริการ ประสบการณ์ บุคคล สถานที่ องค์กร ข้อมูล เป็นต้น
ประเภทของผลิตภัณฑ์ แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการซื้อของผู้ซื้อ สามารถ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
            กลุ่มที่ 1 ผลิตภัณฑ์บริโภค( Consummer product) หมายถึงสินค้า หรือบริการ ที่ซื้อโดยผู้บริโภคขั้นสุดท้าย (Final consumer)
            กลุ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(Industrial product) หมาย ถึง สินค้าหรือบริการที่บุคคล องค์การซื้อ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าอื่น หรือใช้ใน การประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมีเป้าหมายที่ตลาดอุตสาหกรรม ผู้ซื้อที่ ซื้อไปเพื่อการผลิตให้บริการหรือดำเนินงานของกิจการซึ่งส่วนใหญ่คือองค์
การหรือ ผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม



องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์






องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1.      ผลิตภัณฑ์หลัก (Core product) ประโยชน์พื้นฐานของผลิตภัณฑ์ที่บริโภคได้รับจากการซื้อสินค้าโดยตรง
2.      รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Formal/Features product)
3.      ผลิตภัณฑ์คาดหวัง (Expected product) เป็นสินค้าของคุณสมบัติและเงื่อนไขที่ผู้ซื้อคาดหวัง   โดยจะ คำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก
4.      ผลิตภัณฑ์ควบ (Augment product) ได้แก่ประโยนช์เพิ่มเติม หรือบริการที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่กับการซื้อสินค้าประกอบด้วยบริการก่อนและหลังการขาย
5.      ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ (Potential product) ได้แก่ คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ใหม่ทีมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า



ส่วนประสมผลิตภัณฑ์(Product Mix) หมายถึง กลุ่มหรือจำนวนของสายผลิตภัณฑ์และรายการผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ที่กิจกรรมมีเสนอขายแก่ผู้ซื้อ
          สายผลิตภัณฑ์ (Product line) หมายถึง กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน มีการใช้งานคล้ายกัน ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน
          รายการผลิตภัณฑ์ (Product item) หมายถึง เป็นผลิตภัณฑ์รายการใดรายการหนึ่งในยี่ห้อ หรือสายผลิตภัณฑ์ ต่างกันที่รูปแบบ ขนาด ราคา ฯ

ประเภทของผลิตภัณฑ์
1.      สินค้าอุปโภคบริโภค( Consumer Goods)
2.      สินค้าอุสาหกรรม ( Industrial Goods)

1) สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods) สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท
1.      สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods) : ซื้อน้อย ราคาต่ำ ซื้อบ่อยๆได้ มีลักษณะเด่น คือ
  สินค้าที่ผู้บริโภครู้จักดีอยู่แล้ว
  ใช้ความพยายามไม่มากในการหาซื้อ
  สามารถหาสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้
  ราคาไม่แพงและมีการซื้อบ่อย
  เป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไปหรือไม่คงทนถาวร
1.1.   สินค้าหลัก(Stable Goods) : เป็น สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือในครอบครัว ซื้อบ่อยแต่ซื้อครั้งละไม่มาก และใช้เงินไม่มากในการซื้อ เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน เป็นต้น
1.2.   สินค้าที่ซื้อฉับพลัน (Impulse Goods) : เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อโดยฉับพลัน ณ.ตอนนั้น หรือไก้รับการกระตุ้นจาก ส่วนประสมทางการตลาดต่างๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมการขาย (Sale promotion)
  โดยไม่ได้ตั้งใจ
  เกิดจากการระลึกได้
  เกิดจากการเสนอแนะ
  ที่กำหนดเงื่อนไขไว้
1.3.   สินค้าที่ซื้อในยามฉุกเฉิน(Emergency Goods) : สินค้า ซื้อฉุกเฉินเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้ทันที ไม่มีโอกาสเลือกซื้อ โดยไม่คำนึงถึงราคา และตราสินค้า แต่อาจคำนึงถึง ตัวสินค้าและบริการที่ต้องการใช้ ความสะดวกในการซื้อ/ความรวดเร็ว 


2.      สินค้าเปรียบเทียบซื้อ (Shopping Goods) สินค้าที่ผู้บริโภคมีการเปรียบเทียบก่อนซื้อ ในด้านราคา ตรา คุณสมบัติ รูปแบบ ฯลฯ มักจะมีลักษณะเด่น ดังนี้
อายุใช้งานนาน(ความถี่ในการซื้อน้อย)
ราคาต่อหน่วยสูง
  ใช้เวลาและความพยายามในการตัดสินใจซื้อสูง
  ผู้ซื้อเจาะจงตราสิค้าก่อนซื้อ
สินค้าเปรียบเทียบซื้อ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
2.1.   สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่เหมือนกัน(Homogeneous Shopping goods)
2.1.1.      สินค้ามีรูปแบบเดียวกัน คล้ายกัน หรือมาตรฐานเดียวกัน ในรูปทรง ขนาด คุณสมบัติ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1.2.      ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบคุณสมบัติ ต่างๆ เช่น รูปแบบ ขนาด อรรถประโยชน์ ถ้าเหมือนกันจะตัดสินใจที่ราคา
2.2.   สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่แตกต่างกัน(Heterogeneous Shopping goods)
2.2.1.      สินค้าที่มีคุณลักษณะต่างกันใน รูปแบบ สี คุณสมบัติ การใช้การรับประกัน สีสัน เสื้อผ้า รองเท้า
2.2.2.      ผู้บริโภคมักตัดสินใจที่ ความแตกต่างที่ไม่เหมือนกับสินค้ายี่ห้ออื่น เช่น รูปแบบ คุณสมบัติพิเศษ สมรรถนะของสินค้า



3.      สินค้าเจาะจงซื้อ( Specialty Goods) คือ
3.1.   สินค้าที่มีคุณสมบัติพเศษ ผู้บริโภคใช้ความพยายามมากและใช้เวลานานในการซื้อ
3.2.   ผู้บริโภคใช้เหตุผลในการซื้อ
3.3.   อายุการใช้งานนาน ราคาค่อนข้างสูง (สูงกว่าสินค้าเปรียบเทียบซื้อ)
3.4.   เป็นสินค้าที่มีซื่อเสียง มีมานาน คนส่วนใหญ่รู้จัก
3.5.   ผู้ซื้อเจาะจงตราก่อนซื้อ และตัดสินใจซื้อใว้ล่วงหน้า เช่น รถยนต์ บ้าน เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพง
4.      สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods) มีลักษณะเด่นดังนี้ คือ
  เป็นสินค้าที่มีมานาน หรือ เพิ่งออกสู่ตลาดใหม่ มีเทคโนโลยี่ใหม่ล้ำสมัย
  ผู้บริโภคอาจรู้จัก-ยังไม่รู้จัก/แต่ไม่มีความรู้ในตัวสินค้า/หรือ ไม่มีความจำเป็น จึงไม่ไช้ความพยายามในการหาซื้อ
  ราคาค่อนข้างสูง

สินค้าไม่แสวงซื้อแบ่ง ได้ 2 ประเภท คือ
4.1.   สินค้าเป็นที่รู้จัก แต่ยังไม่มีความต้องการซื้อ(Regularly unsought goods) เพราะว่าผู้บริโภค ไม่เห็นประโยชน์ เช่น ดาวเทียม ประกันชีวิต ปริญญาโทหรือ เอก
4.2.   สินค้าใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จัก (New product unsought goods) สินค้า ที่ผู้ผลิตเพิ่งนำออกสู่ตลาด มีความทันสมัย เทคโนโลยีใหม่ ราคาแพง ผู้บริโภคไม่รู้ว่า จะซื้อไปทำไม เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิทางหู


2) สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 วัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบ
วัตถุดิบ(Raw Material)
o   ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม
o   ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
วัสดุชิ้นส่วนประกอบในการผลิต
o   วัสดุประกอบ
o   ชิ้นส่วนประกอบ


 
กลุ่มที่ 2 สินค้าประเภททุน
  สิ่งที่ติดตั้ง(Installation)
o   สิ่งปลูกสร้างและอาคาร
o   อุปกรณ์ถาวร
  อุปกรณ์ประกอบ(Accessory Equipment)
o   อุปกรณ์เครื่องมืที่ใช้ในโรงงาน
o   อุปกรณ์ที่ใช้ในสำนักงาน
กลุ่มที่ 3 วัสดุสิ้นเปลืองและบริการ
  วัสดุสิ้นเปลือง(Supplies)
o   วัสดุบำรุงรักษาทำความสะอาด
o   วัสดุซ่อมแซม
o   วัสดุในการดำเนินงาน
  บริการ(Services)
o   บริการบำรุงรักษา
o   บริการซ่อมแซม
o   ให้คำแนะนำแกธุรกิจ


การประยุกต์ใช้


จากสรุปของผู้วิจัยของการนำมาประยุกต์ใช้ ของการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้ทฤษฎีระบบมาประยุกต์ใช้โดยการ Input เช่นการวิจัยทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด การวิเคราะห์ทางการขาย และอื่น ๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการของขั้นตอนเพื่อได้มาซึ่งความคิดใหม่ ซึ่งจะต้องมีการสกรีนในเบื้องต้น เพื่อที่จะได้มาซึ่ง concept ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ ต่อกลยุทธ์ทางการตลาด และ การศึกษาความเป็นไปได้ และมีการทดสอบของตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ก่อนที่จะมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ต้องมีการ Review ในตัวผลิตภัณฑ์
Output หลังจากผ่านกระบวนการข้างต้น จะได้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ผ่านการทดสอบ และจัดให้มีแบรนด์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมทั้งจัดการอบรมให้กับพนักงานเพื่อให้มีความรู้ต่อผลิตภัณฑ์ วางตัวในการตลาด ไปจนถึงคำนวณถึงผลกำไรของการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร



อ้างอิง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น